วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

จิตรกรรมวัดโพธิ์

Image



Image



Image



Image




Image


พี่เพชร เชิดกลิ่น

คลิปนี้เป็นการเขียนสีอะครีลิก จริงๆไม่มีอะไรมากบังเอิญเจอพอดี เป็นเทปที่พี่เพชร เชิดกลิ่น เป็นรุ่นพี่ที่คณะศิปกรรม มหาสารคามไปสาธิตการเขียนรูปเลยเอามาโพสลงเฉยๆ

ตู้พระธรรมลายรดน้ำ : ฝีมือครูวัดเซิงหวาย


ศิลปะลายรดน้ำของไทยเจริญรุ่งเรืองที่สุดในสมัยอยุธยา  สืบทอดต่อมาถึงสมัยธนบุรีและสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น  ตู้ลายรดน้ำฝีมือช่างชั้นสูงสมัยอยุธยาที่ยังตกทอดมาถึงปัจจุบัน  ที่สำคัญได้แก่  ตู้พระธรรมฝีมือครูวัดเซิงหวายซึ่งนับถือกันว่ามีความงามเป็นเลิศ  แสดงถึงอัจฉริยภาพของช่างไทยในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๒


ตู้พระธรรมลายรดน้ำ เมื่อครั้งเก็บรักษาไว้ที่หอพระสมุดวชิรญาณ  ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  พระนคร
         ตู้พระธรรมลายรดน้ำฝีมือครูวัดเซิงหวายนี้  เดิมอยู่ที่วัดนางนอง  ธนบุรี  แต่ไม่ทราบปีที่นำมาเก็บรักษาไว้ยังหอพระสมุดวชิรญาณ  สันนิษฐานว่าน่าจะนำมาก่อนพุทธศักราช ๒๔๕๔  เพราะปรากฏเรื่องเกี่ยวกับตู้หลังนี้ในหนังสือ ประตูใหม่” ฉบับวันที่  ๑ ธันวาคม  รัตนโกสินทรศก ๑๒๙  มีผู้แต่งบทศักรวากล่าวถึงตู้ลายรดน้ำฝีมือครูวัดเซิงหวาย  ซึ่งตั้งแสดงให้ประชาชนชมที่หอพระสมุดวชิรญาณ  ว่า
         ศักรวาตู้ทองจำลองลาย                  วัดเซิงหวายลือดังครั้งกรุงศรี
 อายุนานไม่น้อยนับร้อยปี                        ราวสามสี่ล่วงแล้วเกือบแคล้วชม
บุญดำรงทรงราษฎร์ศาสนา                       จึงค้นคว้าของเก่าเข้าสะสม
ตั้งเรียงรายหอสมุดสุดนิยม                       มีเงินถมสองร้อยชั่งอย่าหวังเลย
และ

ภาพด้านหน้าจากตู้พระธรรมลายรดน้ำ สมัยอยุธยา ฝีมือครูวัดเซิงหวาย  (พช. พระนคร)
         ศักรวาตู้ทองวัดเซิงหวาย                 แลลวดลายดูเด่นเหมือนเส้นเหลา
สิงหราลดาดอกออกพรายเพรา                  ปักษาเจ่าจับจิกผกากิน
พฤกษาสูงใบเสียดประสานก้าน                 รอกทะยานเหยียบนกก็ผกผิน
แลแมลงแฝงเกสรภมรบิน                        ลายงามสิ้นดังเจียนทองมาทาบเอย


รายละเอียดภาพด้านซ้ายตอนล่าง


รายละเอียดภาพด้านขวาตอนล่าง
         ตู้พระธรรมสร้างขึ้นเพื่อเก็บรักษาคัมภีร์พระไตรปิฎกและคัมภีร์อื่นๆ  ที่จารลงในใบลาน  ตู้พระธรรมเหล่านี้แต่เดิมอยู่ในหอไตร ตามอารามต่างๆ  ศาสตราจารย์ศิลป  พีระศรี  กล่าวถึงลักษณะของตู้พระธรรมไว้ว่า

         ตู้พระธรรมที่แท้จริงนั้น  มีทรงเป็นรูป ๔ เหลี่ยมลูกบาศก์  ส่วนบนสอบ  มีขาตั้งตรงมุม ๔ ขา  ยาวจากมุมของตู้ลงไปประมาณ ๑๕ หรือ ๒๐ นิ้ว  โดยทั่วไปขาของตู้พระธรรมนั้น (ส่วนมาก) ตกแต่งเป็นลายรดน้ำหรือทำเป็นลายจำหลัก  ไม้บ้าง  แต่เป็นส่วนน้อย แม้ว่าตู้พระธรรมจะมีขนาดต่างกันอยู่มากก็ตาม  ขนาดเฉลี่ยโดยทั่วไปพอกำหนดได้ดังนี้ คือ  สูง ๕๐ นิ้ว  กว้าง ๔๐ นิ้ว  และลึก ๓๐ นิ้ว  ขาตู้ยาว ๑๕ หรือ ๒๐ นิ้ว  ภายในตู้มีชั้นหลายชั้นสำหรับวางห่อพระคัมภีร์  ซึ่งได้กล่าวมาแล้วว่าจารลงในใบลานแล้วมัดเป็นผูกๆ ผูกละ ๒๕ ใบลาน

 ตู้พระธรรมขนาดใหญ่จำแนกตามลักษณะของ ฐาน หรือ ขา ได้เป็น ๔ แบบ คือ


๑.  ตู้พระธรรมฐานสิงห์  ทำเป็นฐานรองรับตู้จำหลักลวดลาย  ตู้พระธรรมลักษณะนี้นิยมทำในสมัยอยุธยา




๒.  ตู้พระธรรมขาสิงห์  ส่วนขาของตู้มักจำหลักเป็นเท้าสิงห์เหยียบบนลูกแก้ว  มุมของขาด้านบนจำหลักหรือเขียนลาย จมูกสิงห์ทำนองเดียวกับโต๊ะขาสิงห์รองรับตู้ไว้

๓.  ตู้พระธรรมขาคู้  มีลักษณะคล้ายกับตู้ขาสิงห์  แต่ส่วนปลายของขาทั้งสี่คู้เข้าด้านใน

๔.  ตู้พระธรรมขาหมู  ส่วนปลายของขาทั้งสี่ตรงและผายออกรับกับแนวสอบด้านบน  ตู้ลักษณะนี้มักมีลิ้นชักประกอบอยู่ด้านล่าง

 
                                                                                    อย. ๗ 

ความเป็นมาของลายรดน้ำ

         ลายรดน้ำ  เป็นงานหัตถศิลป์ชั้นสูงอย่างหนึ่งของไทย  จัดอยู่ในงาน ช่างรัก อันเป็นสาขาหนึ่งของช่างสิบหมู่  ลักษณะของลายรดน้ำเป็นการทำลวดลายหรือภาพปิดด้วยแผ่นทองคำเปลวบนพื้นรักสีดำหรือสีแดง  สำหรับตกแต่งสิ่งของเครื่องใช้ที่ทำด้วยไม้ หนังหรือไม้ไผ่สาน  เป็นต้น  มีตั้งแต่ภาชนะขนาดเล็ก เช่น  กล่อง  กรอบรูป  สมุก  หมวก  โล่  ฯลฯ  และขนาดใหญ่ เช่น หีบ  โต๊ะ ตู้  ฯลฯ

         นอกจากภาชนะต่างๆ  แล้วยังมีการทำลายรดน้ำเพื่อตกแต่งส่วนประกอบของอาคาร เช่น บานประตู  หน้าต่าง  ลับแล  ตลอดจนฝาผนังที่ทำด้วยไม้  ฝาผนังอาคารที่ตกแต่งด้วยลายรดน้ำนั้น  ยังเหลือร่องรอยหลักฐานการสร้างงานประเภทนี้อยู่ในที่ต่างๆ เช่น หอเขียนวังสวนผักกาด  กรุงเทพมหานคร  พระตำหนักทอง  วัดไทร  เขตบางขุนเทียน  กรุงเทพมหานครและหอไตรวัดสิงห์  อำเภอสามโคก  จังหวัดปทุมธานี  ศิลปะลายรดน้ำของไทยเจริญสูงสุดในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๒ จนถึงกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๓


                                                                            พช. พระนคร
                                             
         ลายรดน้ำนับว่าเป็นสัมฤทธิผลขั้นสุดท้ายของงาน ช่างรัก ศิลปะชั้นสูงของไทยแขนงนี้น่าจะมีมาก่อนพุทธศตวรรษที่ ๒๒ นานนับร้อยปี  ดังปรากฏหลักฐานใน พระไอยการตำแหน่งนาทหารหัวเมือง  ซึ่งตราขึ้นในรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ  กล่าวถึงศักดินาของข้าราการ กรมช่างรัก ในหมวด ช่างสิบหมู่  ว่า

         ขุนสุวรรณ์ราชา          เจ้ากรมซ้าย               นา         ๓๐๐

         หมื่นสุวรรณ์นิมิต         ปลัดกรม                   นา         ๒๐๐

         ช่างเลว                                                   นาคล     ๕๐
         ขุนสุวรรณสิทธิ           เจ้ากรมขวา               นา         ๓๐๐

         หมื่นสุวรรณสาคร        ปลัด                        นา         ๒๐๐

         ช่างเลว                                                   นาคล     ๕๐

         หลักฐานดังกล่าวแสดงว่าศิลปะ ลายรดน้ำ หรือ ช่างรัก มีความสำคัญมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้น แต่เนื่องจากไม่ปรากฏหลักฐานงานฝีมือช่างสมัยดังกล่าวตกทอดมาถึงปัจจุบัน ทำให้ไม่อาจทราบได้ว่ารูปแบบของลายรดน้ำในครั้งนั้นมีลักษณะอย่างไร


ลายรดน้ำจากตู้หมายเลข กท. ๓๔๙  ตู้หลังนี้เป็นฝีมือช่างสมัยอยุธยา  แต่ทะเบียนที่ลงไว้เป็นสมัยรัตนโกสินทร์
วิธีการทำลายรดน้ำ กล่าวโดยย่อ ดังนี้


         ขั้นตอนแรกของการทำลายรดน้ำต้องทาน้ำรักลงบนภาชนะหรือวัสดุนั้น  ลงพื้น จนได้ความหนาตามที่ต้องการแล้ว  ปล่อยทิ้งไว้จนแห้งสนิท  ชโลมด้วยน้ำดินสอพอง  ล้างและเช็ดด้วยผ้าขาวที่สะอาดเป็นการ ประสะ พื้นรักมิให้เป็นมัน  เพราะหากเขียนลายลงบนพื้นรักที่เป็นมัน  หรดาลจะติดไม่สม่ำเสมอ  จากนั้นร่างภาพลงบนกระดาษ  ใช้เข็มปรุตามรอยเส้นภาพ  นำไปทาบบนพื้นที่จะเขียน  เอาดินสอพองเผาไฟบดละเอียดห่อด้วยผ้าขาวบางทำเป็น ลูกประคบ ค่อยๆ ประคบ  ลวดลายต้นแบบภาพจากผงดินสอพอง  จะทะลุรอยปรุไปติดพื้นผิวรักตามรอยปรุเป็นแนวเส้นลาย  จากนั้นจึงใช้พู่กันจุ่มน้ำหรดาลเขียนลงบนรักตรงส่วนที่จะให้เป็นพื้นสีดำ 


สัตว์หิมพานต์จากตู้พระธรรมลายรดน้ำ  ฝีมือช่างสมัยอยุธยา
         เมื่อเขียนลายลงบนพื้นรักแล้ว  ก่อนที่จะปิดด้วยทองคำเปลวต้องเช็ดด้วย รักน้ำใส ที่ปราศจากน้ำเจือปน  วิธี เช็ดน้ำรัก ให้ใช้เศษผ้าขาวสะอาดเนื้อนุ่มจุ่มลงในน้ำรัก  บีบให้เข้ากับเนื้อผ้า อย่าให้โชก นำไปเช็ดบนพื้น ซึ่งเขียนไว้เรียบร้อยแล้วให้ทั่วจึง เช็ดถอน ด้วยผ้าขาวสะอาดเนื้อนุ่มอีกครั้งหนึ่ง  ให้เหลือเพียงบางๆ พอปิดทองคำเปลวติด  เมื่อปิดทองแล้วให้ใช้สำลีเช็ดกระชับ กวดให้ทองติดแน่น เอากระดาษซึ่งใช้ทองไปแล้วซับน้ำปิดทับลงบนทองที่ปิดไว้  ใช้สำลีชุบน้ำแตะเบาๆ บนกระดาษให้ทั่วจนสังเกตเห็นว่า เส้นหรดาลที่เขียนไว้พองตัวทั่วถึงแล้วจึง รดน้ำ  ด้วยน้ำสะอาดแล้วซับด้วยกระดาษชุบน้ำที่ปิดไว้เบาๆ  ส่วนที่เป็นหรดาลจะละลายหลุดออก  ทองที่ปิดบนพื้นรักจะติดแน่นเป็น ลายรดน้ำ


ลวดลายด้านหลังตู้พระธรรมฐานสิงห์ ฝีมือช่างสมัยอยุธยา ผูกลายกระหนกมีลักษณะคล้ายรวงข้าว
        ภาพลายรดน้ำนิยมทำบนพื้นรักสีดำมากกว่าบนพื้นรักสีแดง  เพราะพื้นสีดำจะตัดกับลายทองทำให้มีความโดดเด่น งดงามกว่า  ความงามของลายรดน้ำเกิดจากการประดิษฐ์ลวดลาย  ให้มีจังหวะและช่องไฟที่เหมาะสมประกอบกับฝีมืออันประณีตบรรจง
**************************

ข้อมูลอ้างอิง คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุฯ. ชาดกและพุทธประวัติจากตู้ลายรดน้ำ. กรุงเทพมหานคร :บริษัท รุ่งศิลป์การพิมพ์ (๑๙๗๗) จำกัด, ๒๕๔๙.


วัดภูมินทร์

วิหารจัตุรมุข วัดภูมินทร์ จังหวัดน่าน
วิหารจัตุรมุข วัดภูมินทร์ จังหวัดน่าน
จิตรกรรมฝาผนัง วัดภูมินทร์ จังหวัดน่าน
จิตรกรรมฝาผนัง วัดภูมินทร์ จังหวัดน่านจิตรกรรมฝาผนัง วัดภูมินทร์ จังหวัดน่าน
วัดภูมินทร์วัดภูมินทร์ อยู่ใกล้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่านเป็นวัดที่มีลักษณะแปลกกว่าวัดอื่น ๆ คือ โบสถ์และวิหาร สร้างเป็นอาคารหลังเดียวกัน ประตูไม้ทั่งสี่ทิศ แกะสลักลวดลายงดงามโดยฝีมือช่างเมืองน่าน นอกจากนี้ฝาผนังแสดงถึงชีวิตและวัฒนธรรมของยุดสมัยที่ผ่านมาความสวยแปลกของวัดภูมินทร์ คือ เป็นพระอุโบสถและพระวิหารสร้างเป็นอาคารหลังเดียวกัน เป็นทรงจัตุรมุข (กรมศิลปากร ได้สันนิษฐานว่าเป็นอุโบสถจัตุรมุขหลังแรกของประเทศไทย) นาคสะดุ้งขนาดใหญ่ แห่แหนพระอุโบสถเทินไว้บนกลางลำตัว ตรงใจกลางพระอุโบสถประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่สี่องค์ ประทับนั่งบนฐานชุกชี หันพระพักตร์ออกด้านประตู ทั้งสี่ทิศ เบื้องพระปฤษฎางค์ชนกัน ภายในพระอุโบสถ มีภาพจิตรกรรมฝาผนังศิลปกรรมไทลื้อ ที่เล่าเรื่องชาดก ตำนานพื้นบ้าน และความเป็นอยู่ของชาวน่านในอดีต
ประวัติของวัด
ตามพงศาวดารเมืองน่าน วัดภูมินทร์สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2139 โดยพระเจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์ หลังจากที่พระองค์ทรงครองนครน่านได้ 6 ปี มีปรากฏในคัมภีร์เมืองเหนือว่า เดิมชื่อ “วัดพรหมมินทร์” ซึ่งเป็นชื่อของเจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์ ผู้สร้างแต่ตอนหลังชื่อวัดได้เพี้ยนไปจากเดิมเป็นวัดภูมินทร์ วัดแห่งนี้ได้รับการบูรณะครั้งใหญ่เมื่อ พ.ศ. 2410 หลังจากที่สร้างมา 271 ปี โดยเจ้าอนันตวรฤทธิเดช เจ้าผู้ครองนครน่าน โปรดให้ซ่อมแซมครั้งใหญ่แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2418 (ปลายสมัยรัชกาลที่ 4) ใช้เวลาซ่อมนานถึง 7 ปี จิตรกรรมฝาผนังในวิหารหลวงก็เขียนขึ้นในช่วงนี้ ภาพจิตรกรรมหรือ “ฮูบแต้ม” ในวัดภูมินทร์เป็นชาดกในพุทธศาสนาแต่ถ้าพิจารณารายละเอียดของวิถีชีวิตของคนเมืองในสมัยนั้น
สิ่งน่าสนใจ
วิหารจัตุรมุข เป็นงานสถาปัตยกรรมล้านนาแบบพิเศษ ที่มีความงดงามอยู่อย่างลงตัว โดยนำโบสถ์และวิหารมาสร้างรวมเข้าเป็นอาคารเดียวกัน รูปจัตุรมุข มีบันได และประตูออกทั้งสี่ทิศ ที่ราวบันไดเป็นปูนปั้นรูปพญานาค หันเศียรนาคขึ้นสู่เบื้องบน ภายในวิหารมีพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยขนาดใหญ่สี่องค์ หันพระปฤษฎางค์ (หลัง) ชนกัน บ่ายพระพักตร์สู่ประตูทางเข้าทั้งสี่ทิศ เบื้องหลังพระปฤษฎางค์เป็นฐานเจดีย์สี่เหลี่ยมย่อมุมสิบสอง
จิตรกรรมฝาผนัง  ภาพวาดปรากฏอยู่บนผนังด้านในวิหารจัตุรมุขทั้งสี่ด้าน ผนังด้านทิศเหนือ ตะวันออก และใต้ เป็นภาพพระพุทธเจ้าประทับนั่งปางมารวิชัย มีพระสาวกนั่งข้างละสององค์ สันนิษฐานว่าคงเป็นตอนที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมเทศนา และต่ำลงมาได้เขียนเป็นภาพขนาดเล็กเล่าเรื่อง “คันธกุมารชาดก”ต่อเนื่องกันตลอดทั้งสามด้าน ส่วนผนังด้านทิศตะวันตก ตอนบนเป็นภาพพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานในปางไสยาสน์ มีพระสาวกแสดงอาการเศร้าโศกอยู่สี่องค์ ตอนล่างลงมาเป็นภาพเล่าเรื่อง “พระเตมีราชชาดก” นอกจากนี้ยังมีภาพจิตรกรรมซึ่งโดดเด่นเป็นพิเศษคือ ภาพเหมือนบุคคลและภาพวิถีชีวิตชาวน่านในอดีต ที่น่าสนใจ ได้แก่
1. ภาพบริเวณยอดเสาซ้ายมือของประตูด้านทิศตะวันออก นักวิชาการสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นภาพเหมือนของเจ้าอนันตวรฤทธิเดช ผู้ปฏิสังขรณ์วัดนี้
2. ภาพผนังขวามือของประตูทางทิศเหนือ เป็นภาพชายหญิงกลุ่มหนึ่งยืนหยอกเย้า เกี้ยวพาราสีกัน แสดงให้เห็นถึงสภาพชีวิตความเป็นอยู่และการแต่งกายในอดีต สังเกตว่าช่างได้ใส่อารมณ์ความรู้สึกลงบนใบหน้าคนในภาพอยู่างเต็มที่ ซึ่งต่างกับงานจิตรกรรมฝาผนังในภาคกลางอยู่างสิ้นเชิง เป็นภาพที่มีชื่อเสียงและงดงามมาก พลาดชมไม่ได้
3. ภาพที่ยอดเสาขวามือของประตูด้านทิศตะวันตก เป็นภาพชายวัยกลางคนมีเคราดก ใบหน้าคล้ายชาวตะวันตก สวมเสื้อสีแดง สวมหมวก และสะพายย่าม สันนิษฐานว่าเป็นมิชชันนารีที่เข้ามาเผยแผ่ศาสนา
4. ภาพบนผนังซ้ายมือของประตูด้านทิศตะวันตก เป็นรูปชายหนู่มหญิงสาวกำลังเกี้ยวพาราสีกัน ชายเปลือยอก เห็นรอยสักเต็มไปทั้งแขน ไหล่ หน้าอก พุง และหน้าขา เป็นการสักตามสมัยนิยม อันเป็นที่มาของการเรียกคนกลุ่มนี้ว่า “ลาวพุงดำ” ตำแหน่งของภาพจงใจเขียนให้อยู่ข้างหลังประตู และเขียนอยู่างประณีตมาก น่าจะเป็นภาพเหมือนของช่างวาดเอง ภาพนี้จัดเป็นภาพชิ้นเยี่ยม
5. ภาพธรรมเนียมการอยู่ข่วง ของชาวไทลื้อ พ่อแม่ จะอนุญาตให้หนุ่มสาวพบปะกันที่ชานบ้านในเวลาค่ำ ขณะหญิงสาวกำลังปั่นฝ้าย หรือ “อยู่ข่วง” หากสาวเจ้าตกลงปลงใจด้วยก็จะจัดพิธีแต่งงาน หรือที่เรียกว่า “เอาคำ ไปป่องกั๋น” หรือเป็นทองแผ่นเดียวกัน การค้าขายแลกเปลี่ยนในชุมชน
6. ภาพชาวพื้นเมือง ซึ่งอาจเป็นชาวเขา “เป๊อะ” ของป่าบนศรีษะ เพื่อนำมาแลกเปลี่ยนกับคนเมือง

7. ภาพชีวิตความเป็นอยู่ของคนเมืองน่าน หญิงสาวกำลังทอผ้าด้วยกี่พื้นเมือง นอกชานมีเรือนเล็กๆตั้งหม้อน้ำดินเผาที่เรียกว่า “ร้านน้ำ” ส่วนชายหนุ่มไว้ผมทรงหลักแจวหรือทรงมหาดไทย แสดงให้เห็นอิทธิพลตะวันตกที่เข้ามาผสมผสานในวิถีพื้นเมืองน่าน
8. ภาพชาวต่างประเทศ ที่เข้ามาเมืองน่านช่วงรัชกาลที่ 5 ทรงผม และเครื่องแต่งกายของผู้หญิงเป็นรูปแบบเดียวกับที่กำลังเป็นที่นิยมในยุโรปขณะนั้น
ที่ตั้ง ในตัวเมือง ต. ในเวียง อ. เมือง ใกล้ภิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติจังหวัดน่าน

ช่างบุ




                 งานบุ   เป็นงานช่างที่ทำให้เป็นผลสำเร็จได้ด้วยการปฏิบัติงานตามขนบนิยมโบราณอย่างวิธีบุโลหะ  ในลักษณะตกแต่งผิวภายนอกของงานประเภทศิลปภัณฑ์ ครุภัณฑ์ และสถาปัตยกรรม ให้มีคุณค่าสวยงามและมั่งคงถาวร
                 คำว่า "บุ" เป็นคำกริยาอย่างหนึ่ง หมายถึง การเอาของบางๆทา หรืออีกนัยหนึ่งคือ การตีให้เข้ารูป เช่น บุขันทองลงหิน เป็นต้น  
                 วัสดุที่เหมาะกับงานบุ คือ ทองคำ ทองแดง ดีบุก
                 ช่างบุ ที่เป็นช่างหลวงอยู่ในจำพวกช่างสิบหมู่มาแต่โบราณกาล คือ ช่างประเภทที่ทำการบุโลหะให้แผ่ออก เป็นแผ่นบางๆ แล้วนำไปหุ้มคลุมปิดเข้ากับ "หุ่น" ชนิดต่างๆ เพื่อปิดประดับทำเป็นผิวภายนอกของ "หุ่น" ที่ทำขึ้นด้วยวัตถุต่างๆ เช่น ไม้ ปูน โลหะ หิน เป็นต้น ให้เกิดความงาม มีคุณค่า และมีความคงทนถาวรอยู่ได้นานปี งานบุโลหะแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ด้วยกันคือ
                         - การบุหุ้มหุ่นอย่างผิวเรียบ เป็นการนำเอาโลหะชนิดใดชนิดหนึ่งมาทำการตีแผ่ออกให้เป็นแผ่นแบนบางๆ ตามขนาดที่ต้องการ จึงนำเข้าปิดบุทับบนหุ่นที่ต้องการบุทำผิวให้เป็นโลหะชนิดนั้น มักบุลงบนสิ่งก่อสร้างประเภท ก่ออิฐถือปูนเป็นปูชนียสถานต่างๆ เช่น พระสถูปเจดีย์ พระพุทธปรางค์ หรือพระมหาธาตุเจดีย์ พระเจดีย์ทรงปราสาท เป็นต้น งานบุโลหะด้วยโลหะแผ่นเช่นนี้ ส่วนมากยังนิยมลงรักและปิดทองคำเปลวทับลงบนแผ่นโลหะที่บุทับลงในที่นั้น อนึ่ง งานบุโลหะแผ่นผิวเรียบแล้วลงรักปิดทองคำเปลวนี้ สมัยโบราณเรียกว่า บุทองสุวรรณจังโก หรือ บุทองปะทาสี
                         - การบุหุ้มหุ่นอย่างผิวเป็นลวดลาย   เป็นการทำแผ่นโลหะผิวเรียบๆ ให้เกิดเป็นลวดลายนูนขึ้นบนผิวหน้าแผ่นโลหะนั้น โดยการใช้แผ่นโลหะทำให้เป็นลวดลายด้วยแม่พิมพ์หิน และตบด้วยถุงทรายก่อนจะนำไปบุทับลงบนหุ่นชนิดต่างๆ ที่สร้างขึ้น เพื่อรับการตกแต่งด้วยงานบุ งานบุลักษณะผิวเป็นลวดลายนี้ มักเป็นชิ้นงานในลักษณะราบ และการนำเข้าติดกับหุ่น ซึ่งมักทำด้วยไม้ จึงมักใช้หมุดตะบู่เข็มทำด้วยทองเหลืองตรึงให้แผ่นหรือชิ้นงานติดกับหุ่นนั้น
                ตัวอย่างผลงานของช่างบุในอดีต มีดังนี้
                         - งานบุประดับสถาปัตยกรรม ได้แก่ บุพระสถูปเจดีย์ บุพระพุทธปรางค์ บุเครื่องลำยองประกอบหน้าบัน บุหัวเสา
                         - งานบุประดับราชภัณฑ์ ได้แก่ ฐานพระเบญจา พระแท่นราชบัลลังก์ บุษบก พระลองประกอบพระโกศ ฝักพระแสง
                         - งานบุประดับประติมากรรม ได้แก่ บุพระพุทธรูป บุพระพิมพ์ บุปลาตะเพียนทองเงิน
               เครื่องมือและอุปกรณ์ของช่างบุ
                         1. ค้อนเหล็ก สำหรับตีแผ่โลหะ
                         2. ค้อนไม้
                         3. ค้อนเขาควาย
                         4. ทั่งเหล็ก
                         5. กะหล่อน อุปกรณ์ชนิดหนึ่งลักษณะ คล้ายทั่ง แต่หน้าเล็กและมน
                         6. เติ่งไม้ อุปกรณ์ชนิดหนึ่งทำด้วยไม้ท่อน หน้าเว้าตื้นๆ
                         7. กรรไกร
                         8. สว่านโยน
                         9. ไม้เนียน ทำด้วยเขาควาย
                        10. แม่พิมพ์ ชนิดทำด้วยหิน หรือทำด้วยไม้
                        11. ถุงทราย
                        12. ชันเคี่ยว
                        13. สิ่วสลักหน้าต่างๆ
                        14. หมุด ทำด้วยโลหะผสม

จิตรกรรม การเขียนภาพไทย

งานศิลปะแขนงหนึ่ง ที่ต้องอาศัยความประณีต และชำนาญอย่างมาก

ลายรดน้ำ

            ลายรดน้ำ หนึ่งในสิบของงานช่างสิบหมู่ของไทย ภาพเขียนลายทองด้วยเทคนิคการลงรักปิดทอง
ผ่านกรรมวิธีและขั้นตอนที่ปราณีต ละเอียดอ่อนต่างๆมากมาย