วันพฤหัสบดีที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ศิลปะคือ

ศิลปะคือ

ศิลปะ หรือ ศิลป์ (สันสกฤต: शिल्प ศิลฺป) ทั่วๆไปแล้วจะหมายถึงการกระทำหรือขั้นตอนของการสร้างชิ้นงานศิลปะโดยมนุษย์ คำแปลในภาษาอังกฤษที่ตรงที่สุดคือ Art ศิลปะเป็นคำที่มีความหมายกว้าง แต่ส่วนใหญ่แล้วจะมีความหมายเกี่ยวกับการสร้างสรรค์, สุนทรียภาพ, หรือการสร้างอารมณ์ต่างๆ
งานศิลปะ จะรวมถึงชิ้นงานหลายๆชนิดโดยผู้สร้างตั้งใจสร้างชิ้นงานเพื่อสื่อสาร,สื่ออารมณ์,หรือใช้สัญลักษณ์เพื่อให้ผู้ชมชิ้นงานตีความ ผู้สร้างงานศิลปะ มักเรียกรวมๆ ว่า ศิลปิน
ศิลปะอาจรวมไปถึงงานในรูปแบบต่างๆเช่น งานเขียน บทกวี การเต้นรำ การแสดง ดนตรี งานปฏิมากรรม ภาพวาด-ภาพเขียน การจักสาน หรือ อื่นๆ อย่างไรก็ตามส่วนใหญ่แล้วศิลปะจะหมายถึงงานทางทัศนศิลปะพวก ภาพวาด-ภาพเขียน งานประติมากรรม งานแกะสลัก รวมถึง conceptual art และ installation art
ศิลปะ(Art) นับว่าเป็นศาสตร์ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน ตั้งแต่มีมนุษย์เกิดขึ้น และนับว่าเป็นศาสตร์ของนักปราชญ์ที่เป็นที่ชื่นชม

ประเภทของนาฏศิลป์ไทย

นาฎศิลป์ คือ การร่ายรำที่มนุษย์ได้ปรุงแต่งจากลีลาตามธรรมชาติให้สวยสดงดงาม โดยมีดนตรีเป็นองค์ประกอบในการร่ายรำ

นาฎศิลป์ของไทย แบ่งออกตามลักษณะของรูปแบบการแสดงเป็นประเภทใหญ่ ๆ 4 ประเภท คือ
1. โขน
เป็นการแสดงนาฎศิลป์ชั้นสูงของไทยที่มีเอกลักษณ์ คือ ผู้แสดงจะต้องสวมหัวที่เรียกว่า หัวโขน และใช้ลีลาท่าทางการแสดงด้วยการเต้นไปตามบทพากย์ การเจรจาของผู้พากย์และตามทำนองเพลงหน้าพาทย์ที่บรรเลงด้วยวงปี่พาทย์ เรื่องที่นิยมนำมาแสดง คือ พระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ แต่งการเลียนแบบเครื่องทรงของพระมหากษัตริย์ที่เป็นเครื่องต้น เรียกว่าการแต่งกายแบบ “ยื่นเครื่อง” มีจารีตขั้นตอนการแสดงที่เป็นแบบแผน นิยมจัดแสดงเฉพาะพิธีสำคัญได้แก่ งานพระราชพิธีต่าง ๆ
2. ละคร
เป็นศิลปะการร่ายรำที่เล่นเป็นเรื่องราว มีพัฒนาการมาจากการเล่านิทาน ละครมีเอกลักษณ์ในการแสดงและการดำเนินเรื่องด้วยกระบวนลีลาท่ารำ เข้าบทร้อง ทำนองเพลงและเพลงหน้าพาทย์ที่บรรเลงด้วยวงปี่พาทย์ มีแบบแผนการเล่นที่เป็นทั้งของชาวบ้านและของหลวงที่เรียกว่า ละครโนราชาตรี ละครนอก ละครใน เรื่องที่นิยมนำมาแสดงคือ พระสุธน สังข์ทอง คาวี อิเหนา อุณรุท นอกจากนี้ยังมีละครที่ปรับปรุงขึ้นใหม่อีกหลายชนิด การแต่งกายของละครจะเลียนแบบเครื่องทรงของพระมหากษัตริย์ เรียกว่า การแต่งการแบบยืนเครื่อง นิยมเล่นในงานพิธีสำคัญและงานพระราชพิธีของพระมหากษัตริย์
3. รำ และ ระบำ
เป็นศิลปะแห่งการร่ายรำประกอบเพลงดนตรีและบทขับร้อง โดยไม่เล่นเป็นเรื่องราว ในที่นี้หมายถึงรำและระบำที่มีลักษณะเป็นการแสดงแบบมาตรฐาน ซึ่งมีความหมายที่จะอธิบายได้พอสังเขป ดังนี้

3.1 รำ หมายถึง ศิลปะแห่งการรายรำที่มีผู้แสดง ตั้งแต่ 1-2 คน เช่น การรำเดี่ยว การรำคู่ การรำอาวุธ เป็นต้น มีลักษณะการแต่งการตามรูปแบบของการแสดง ไม่เล่นเป็นเรื่องราวอาจมีบทขับร้องประกอบการรำเข้ากับทำนองเพลงดนตรี มีกระบวนท่ารำ โดยเฉพาะการรำคู่จะต่างกับระบำ เนื่องจากท่ารำจะมีความเชื่อมโยงสอดคล้องต่อเนื่องกัน และเป็นบทเฉพาะสำหรับผู้แสดงนั้น ๆ เช่น รำเพลงช้าเพลงเร็ว รำแม่บท รำเมขลา –รามสูร เป็นต้น

3.2 ระบำ หมายถึง ศิลปะแห่งการร่ายรำที่มีผู้เล่นตังแต่ 2 คนขึ้นไป มีลักษณะการแต่งการคล้ายคลึงกัน กระบวนท่ารายรำคล้าคลึงกัน ไม่เล่นเป็นเรื่องราว อาจมีบทขับร้องประกอบการรำเข้าทำนองเพลงดนตรี ซึ่งระบำแบบมาตรฐานมักบรรเลงด้วยวงปี่พาทย์ การแต่งการนิยมแต่งกายยืนเครื่องพระนาง-หรือแต่งแบบนางในราชสำนัก เช่น ระบำสี่บท ระบำกฤดาภินิหาร ระบำฉิ่งเป็นต้น



4. การแสดงพื้นเมือง
เป็นศิลปะแห่งการร่ายรำที่มีทั้งรำ ระบำ หรือการละเล่นที่เป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มชนตามวัฒนธรรมในแต่ละภูมิภาค ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นภูมิภาคได้ 4 ภาค ดังนี้

4.1 การแสดงพี้นเมืองภาคเหนือ เป็นศิลปะการรำ และการละเล่น หรือที่นิยมเรียกกันทั่วไปว่า “ฟ้อน” การฟ้อนเป็นวัฒนธรรมของชาวล้านนา และกลุ่มชนเผ่าต่าง ๆ เช่น ชาวไต ชาวลื้อ ชาวยอง ชาวเขิน เป็นต้น ลักษณะของการฟ้อน แบ่งเป็น 2 แบบ คือ แบบดั้งเดิม และแบบที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ แต่ยังคงมีการรักษาเอกลักษณ์ทางการแสดงไว้คือ มีลีลาท่ารำที่แช่มช้า อ่อนช้อยมีการแต่งกายตามวัฒนธรรมท้องถิ่นที่สวยงามประกอบกับการบรรเลงและขับร้องด้วยวงดนตรีพื้นบ้าน เช่น วงสะล้อ ซอ ซึง วงปูเจ่ วงกลองแอว เป็นต้น โอกาสที่แสดงมักเล่นกันในงานประเพณีหรือต้นรับแขกบ้านแขกเมือง ได้แก่ ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน ฟ้อนครัวทาน ฟ้อนสาวไหมและฟ้อนเจิง

4.2 การแสดงพื้นเมืองภาคกลาง เป็นศิลปะการร่ายรำและการละเล่นของชนชาวพื้นบ้านภาคกลาง ซึ่งส่วนใหญ่มีอาชีพเกี่ยวกับเกษตรกรรม ศิลปะการแสดงจึงมีความสอดคล้องกับวิถีชีวิตและพื่อความบันเทิงสนุกสนาน เป็นการพักผ่อนหย่อนใจจากการทำงาน หรือเมื่อเสร็จจากเทศการฤดูเก็บเก็บเกี่ยว เช่น การเล่นเพลงเกี่ยวข้าว เต้นกำรำเคียว รำโทนหรือรำวง รำเถิดเทอง รำกลองยาว เป็นต้น มีการแต่งกายตามวัฒนธรรมของท้องถิ่น และใช้เครื่องดนตรีพื้นบ้าน เช่น กลองยาว กลองโทน ฉิ่ง ฉาบ กรับ และโหม่ง



4.3 การแสดงพื้นเมืองภาคอีสาน เป็นศิลปะการรำและการเล่นของชาวพื้นบ้านภาคอีสาน หรือ ภาคตะวนออกเฉียงเหนือของไทย แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มวัฒนธรรมใหญ่ ๆ คือ กลุ่มอีสานเหนือ มีวัฒนธรรมไทยลาวซึ่งมักเรียกการละเล่นว่า “เซิ้ง ฟ้อน และหมอลำ” เช่น เซิ้งบังไฟ เซิ้งสวิง ฟ้อนภูไท ลำกลอนเกี้ยว ลำเต้ย ซึ่งใช้เครื่องดนตรีพื้นบ้านประกอบ ได้แก่ แคน พิณ ซอ กลองยาว อีสาน ฉิ่ง ฉาบ ฆ้อง และกรับ ภายหลังเพิ่มเติมโปงลางและโหวดเข้ามาด้วย ส่วนกลุ่มอีสานใต้ได้รับอิทธิพลไทยเขมร มีการละเล่นที่เรียกว่า เรือม หรือ เร็อม เช่น เรือมลูดอันเร หรือรำกระทบสาก รำกระเน็บติงต็อง หรือระบำตั๊กแตน ตำข้าว รำอาไย หรือรำตัด หรือเพลงอีแซวแบบภาคกลางวงดนตรี ที่ใช้บรรเลง คือ วงมโหรีอีสานใต้ มีเครื่องดนตรี คือ ซอด้วง ซอด้วง ซอครัวเอก กลองกันตรึม พิณ ระนาด เอกไม้ ปี่สไล กลองรำมะนาและเครื่องประกอบจังหวะ การแต่งกายประกอบการแสดงเป็นไปตามวัฒนธรรมของพื้นบ้าน ลักษณะท่ารำและท่วงทำนองดนตรีในการแสดงค่อนข้างกระชับ รวดเร็ว และสนุกสนาน

4.4 การแสดงพื้นเมืองภาคใต้ เป็นศิลปะการรำและการละเล่นของชาวพื้นบ้านภาคใต้อาจแบ่งตามกลุ่มวัฒนธรรมได้ 2 กลุ่มคือ วัฒนธรรมไทยพุทธ ได้แก่ การแสดงโนรา หนังตะลุง เพลงบอก เพลงนา และวัฒนธรรมไทยมุสลิม ได้แก่ รองเง็ง ซำแปง มะโย่ง (การแสดงละคร) ลิเกฮูลู (คล้ายลิเกภาคกลาง) และซิละ มีเครื่องดนตรีประกอบที่สำคัญ เช่น กลองโนรา กลองโพน กลองปืด โทน ทับ กรับพวง โหม่ง ปี่กาหลอ ปี่ไหน รำมะนา ไวโอลิน อัคคอร์เดียน ภายหลังได้มีระบำที่ปรับปรุงจากกิจกรรมในวิถีชีวิต ศิลปาต่างๆ เข่น ระบำร่อนแต่ การีดยาง ปาเตต๊ะ เป็นต้น

ของเขาดีจริง



ประติมากรรม (อังกฤษ: sculpture) เป็นงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการปั้น แกะสลัก หล่อ และการจัดองค์ประกอบความงามอื่น ลงบนสื่อต่างๆ เช่น ไม้ หิน โลหะ สัมฤทธิ์ ฯลฯ เพื่อให้เกิดรูปทรง 3 มิติ มีความลึกหรือนูนหนา สามารถสื่อถึงสิ่งต่างๆ สภาพสังคม วัฒนธรรม รวมถึงจิตใจของมนุษย์โดยชิ้นงาน ผ่านการสร้างของประติมากร ประติกรรมเป็นแขนงหนึ่งของทัศนศิลป์ ผู้ทำงานประติมากรรม มักเรียกว่า ประติมากร
งานประติมากรรมที่เกี่ยวกับศาสนามักสะกดให้แตกต่างออกไปว่า ปฏิมากรรม ผู้ที่สร้างงานปฏิมากรรม เรียกว่า ปฏิมากร
งานประติมากรรม แบ่งเป็น 3 ประเภท ตามมิติของกความลึก ได้แก่
ประติมากรรมนูนต่ำ
ประติมากรรมนูนสูง
ประติมากรรมลอยตัว

สนุกมากเลยเพลงนี้อ่ะ


ที่มา:http://www.youtube.com/watch?v=fhseD2tRLUY&feature=related

วันพฤหัสบดีที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

วัดป่าเลไลย์


วัดป่าเลไลย์
ประวัติความเป็นมา
วัดปาเลไลย์นี้เดิมเป็นสำนักสงฆ์ ต่อมาราษฎรได้ช่วยกันสร้างเป็นวัดขึ้นเรียกว่า วัดบ้านหนองพอก สิมหลังนี้สร้างขึ้นเมื่อครั้งพระอธิการเหยว เป็นเจ้าอาวาส ผู้ดำริให้สร้างคือ พระครูจันทรศรีรัตนคุณ เจ้าคณะอำเภอนาดูนในขณะนั้น สวนฮูปแต้มผนังนั้นเขียนโดย นายสิงห์ ชาวบ้านคลองจอก เป็นช่างคนเดียวกันที่เขียนไว้ ณ วัดโพธาราม บ้านดงบัง วัดนี้ได้รับพระราชทานวิสงคามสีมา เมื่อวันที่ ๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๐ ต่อมาพระครูพิสัยนวการ เจ้าคณะอำเภอนาดูน ได้เปลียนชื่อใหม่เป็น “วัดป่าเลไลย์”
ที่ตั้ง
วัดป่าเลไลย์. ตำบลดงบัง อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม
 
 
รูปแบบสิม ,วัสดุและโครงสร้าง
เป็นตัวอย่างของสิมทึบพื้นบ้านบริสุทธิ์ (ข. ๑.๒) แบบมีเสารับปีกนก(ข. ๑.๒.๒) ขนาด ๓ ช่วงเสา กว้าง ๓.๘๕ เมตร ยาว ๖ เมตร หลังคาทรงจั่วชั้นเดียวมีปีกนกคลุมโดยรอบ สวนหน้าบันทำเรียบมีชานจั่ว, โหง่และหางหงส์ไม้ ตัวสิมตั้งอยู่บนฐานปัทม์ยกสูง ๘๐ ซม. จากพื้นดินฐานแอวขัน สูง ๑ เมตรเศษ มีเสาไม้ ๔ เหลี่ยมนางเรียงรับหลังคาปีกนกตลอดทั้ง ๔ ด้าน รวม ๒๐ ต้น มีประตู ๑ บาน มีช่องหน้าตาง (ป่องเอี้ยม) ด้านข้างด้านละ ๒ บาน เป็นช่องแคบไม่มีบานหน้าต่าง บันไดปั้นปูนพญานาคแบบศิลปะพื้นบ้านอีสานได้รับการบูรณะเปลี่ยนเครื่องมุงเป็นสังกะสีทั้งหลัง จุดเด่นของสิมหลังนี้อยู่ที่ฮูปแต้ม ซึ่งมีทั้งด้านนอกและด้านใน นับเป็นศิลปกรรมพื้นบ้านที่สวยงามมากทั้งทางองค์ประกอบและรายละเอียดเขียนด้วยสีฝุ่นมีวรรณเย็น สีสวนใหญ่ใช้สีคราม ฮูปแต้มผนังด้านในเป็นเรื่องพุทธประวัติ พระมาลัยและพระอดีตพุทธะ ด้านนอกเป็นเรืองรามเกียรติ์และเวสสันดรชาดก ลักษณะพิเศษของฮูปแต้ม ในสิมหลังนี้จะไม่เหมือนกับผู้อื่นเพราะยังเขียนไม่เสร็จ ช่างแต้มได้ย้ายบ้านไปอยู่แห่งอื่น ทำให้เห็นวิธีการเขียนแต่ละขั้นตอนได้ชัดเจน กล่าวคือ ส่วนใหญ่จะลงพื้นด้วยสีน้ำตาลอ่อนแล้วรางภาพเขียนสีภาพอาคาร ต้นไม้ ลำน้ำ ภาพสัตว์ และภาคบุคคล เป็นขั้นสุดท้าย แล้วตัดเส้นกับรายละเอียดอย่างประณีต คุณค่าทางวัฒนธรรมพื้นบ้านของศิลปกรรมชิ้นนี้ที่สำคัญยิ่ง คือ ช่างแต้มได้เขียนสอดแทรกภาพการทอผ้า การสรงน้ำพระ (ฮดสง) การทำบุญตักบาตรและการละเล่นต่าง ๆ เป็นต้น
 
 
ภาพสิมด้านต่างๆ
  
 

 
 
ภาพมอมราวบันไดเฝ้าทางเข้าสิม
ภาพพระประธานองค์ใหม่ บนฐานชุกชีเดิม
 
ฮูปแต้ม (จิตรกรรมฝาผนังอีสาน)
 
 
 
  

 

 

  



http://202.12.97.23/main/esanart/19%20Province/Maha%20Sarakham/Palelai/MS%20Palelai.html

ฮูปแต้มอีสาน

ฮูปแต้มอีสาน

ศิลปวัฒนธรรมอีสานเป็นมรดกทางภูมิปัญญาท้องถิ่นอันทรงคุณค่าที่บรรพชนเป็นผู้ร่วมสืบสาน ดังเช่นศิลปจิตกรรมฝาผนังเป็นงานศิลปกรรมที่มีคุณค่า ที่บ่งบอกความเป็นมาของชาติและชุมชนผ่านการเขียนเป็นรูปภาพ ตลอดจนจารึกเป็นตัวอักษรในภูมิภาคอีสาน เรียกภาพจิตรกรรมฝาผนังว่า "ฮูปแต้ม"
ฮูปแต้มเหล่านี้มักปรากฏอยู่บนผนังโบสถ์ (ชาวอีสานเรียกโบสถ์ว่า สิม) ศาลาการเปรียญ (หอแจก) ธง (ทุง) และผืนผ้า (ผ้าผะเวด) ฮูปแต้มฝาผนัง มักจะมีอยู่ทั้งด้านนอกและด้านในสิม บรรยายเรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับพุทธศาสนา ที่นิยมเขียนมากที่สุดคือ เรื่องมหาเวสสันดรชาดก (ชาวอีสานเรียกว่า ผะเหวด) รองลงมาคือนิทานท้องถิ่น
วัดสนวนวารีพัฒนาราม ที่ตั้ง บ้านหัวหนองนาวัว ต.บ้านไผ่ อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น  จิตรกรรมฝาผนังอีสานนั้น มักจะพบตามฝาผนังสิม สิมแต่ละหลังจะมีรูปทรง ที่มีบริเวณพื้นที่ขนาดเล็กกระทัดรัด มีความเรียบง่ายใช้สำหรับประกอบพิธีสงฆ์ จากการที่มีการเขียนภาพจิตรกรรมบนพื้นผนังด้านนอกสิม  ก็จะเกิดประโยชน์ต่ออุบาสกอุบาสิกาได้ลิ้มรสความงามจากคุณค่าของงานจิตรกรรม  ในยามที่เข้ามาร่วมงานบรรพชาหรือในโอกาสหนึ่งใดก็ตาม  องค์ประกอบหรือการจัดวางเนื้อหาของภาพ  ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของจิตรกรหรือช่างแต้ม

ฮูปแต้ม

ฮูปแต้ม
หลายคนคงคุ้นเคยกับภาพจิตรกรรมฝาผนังอันงดงามอ่อนช้อยที่ปรากฏอยู่ภายในโบสถ์วิหาร ซึ่งส่วนมากเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติและชาดก  แล้วถ้าบอกว่าเราจะชวนไปดู “ฮูปแต้ม” คุณนึกออกไหมว่าคืออะไร
“ฮูปแต้ม” หรือรูปแต้ม คือจิตรกรรมฝาผนังของชาวอีสานที่นอกจากปรากฏบนผนังภายในสิมหรือโบสถ์แล้ว ช่างยังแต้มหรือวาดที่ผนังภายนอกสิม เนื่องจากสิมมีขนาดเล็ก ช่างแต้มไม่สามารถวาดได้จบเรื่อง จึงต้องวาดบนผนังภายนอกสิมด้วย ซึ่งนับเป็นเรื่องดีเพราะผู้ที่ไม่สามารถเข้าไปร่วมพิธีในสิม โดยเฉพาะผู้หญิงที่ตามขนบอีสานไม่อนุญาตให้เข้าไปภายในสิมซึ่งเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์สำหรับประกอบกิจของสงฆ์ จะได้มีโอกาสเรียนรู้หลักธรรมคำสอนจากฮูปแต้มภายนอกสิม
ฮูปแต้มมักเป็นเรื่องราวในพุทธศาสนาหรือนิทานพื้นบ้านที่มุ่งเพาะบ่มขัดเกลาจิตใจ  เรื่องที่ได้รับความนิยมมากที่สุดจากคนอีสานและช่างแต้มในแถบอีสานตอนล่างได้แก่ จ. ขอนแก่น มหาสารคาม และร้อยเอ็ด คือเรื่อง สินไซ หรือ สังข์ศิลป์ชัย ดังเช่นฮูปแต้มที่สิมวัดไชยศรี อ. เมือง และฮูปแต้มที่สิมวัดสนวนวารีพัฒนาราม อ. บ้านไผ่ จ. ขอนแก่น  ฮูปแต้มที่สิมสองแห่งนี้เป็นฝีมือช่างพื้นบ้าน เขียนได้สนุกสนาน โดยเฉพาะที่วัดสนวนวารีฯ นั้นมีแผ่นป้ายข้อมูลประกอบการชมและเข้าชมได้อย่างสะดวกสบาย
ทำไมต้องเป็นเรื่อง สินไซ ?
ภาคอีสานในช่วงพุทธศตวรรษที่ 19-23 อยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรล้านช้าง อาณาจักรของชนชาติลาวแถบลุ่มน้ำโขง  ต่อมาภายหลัง แม้สูญเสียเอกราชให้แก่สยาม แต่วัฒนธรรมทั้งด้านศิลปกรรม สถาปัตยกรรม และขนบธรรมเนียมประเพณี ยังคงมีอิทธิพลต่อคนในภาคอีสาน อีกทั้งคนอีสานในหลายพื้นที่ก็สืบเชื้อสายจากบรรพบุรุษที่อพยพมาจากเมืองเวียงจันทน์และหลวงพระบางของล้านช้าง
สินไซ เปรียบเสมือนมรดกทางวรรณกรรมอันล้ำค่าของชาวล้านช้าง เป็นวรรณกรรมเก่าแก่ซึ่งเดิมเป็นหนังสือเทศน์ แต่งเป็นคำกลอนโดยท้าวปางคำใน พ.ศ. 2192 ต่อมามีการพิมพ์เป็นภาษาไทยและลาวอย่างกว้างขวาง  วรรณกรรมเรื่องนี้นอกจากมีความงดงามทางภาษาแล้ว เนื้อหายังสนุกสนานน่าติดตามด้วยการผจญภัย “หกย่านน้ำ เก้าด่านมหาภัย” ของสินไซ ทั้งยังสอดแทรกเรื่องคุณธรรมหลายอย่าง  คนอีสานส่วนใหญ่เชื่อว่า สินไซเป็นอดีตชาติของพระพุทธเจ้า โดยเป็นแบบปัญญาสชาดกหรือชาดกนอกนิบาต จึงไม่มีปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก
ขอขอบคุณ : อาจารย์ทรงวิทย์ พิมพะกรรณ์  รองผู้อำนวยการสำนักวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น เอื้อเฟื้อข้อมูล
นิทานพื้นบ้าน สินไซ หรือ สังข์ศิลป์ชัย
นิทานพื้นบ้านแดนอีสานเรื่องนี้เริ่มจากพระนางสุมณฑา พระขนิษฐาของท้าวกุศราชผู้ครองเมืองเป็งจาล ถูกท้าวกุมภัณฑ์แห่งเมืองอโนราชลักพาตัวไป ท้าวกุศราชจึงออกตามหาพระขนิษฐา  ระหว่างทางพบหญิงงามและได้พวกนางเป็นมเหสีอีก 7 องค์ นอกเหนือจากที่มีพระนางจันทาเป็นมเหสีเอกอยู่แล้ว
เมื่อมเหสีทั้งแปดตั้งครรภ์ โหรหลวงทำนายว่าจะมีผู้มีบุญญาธิการมาเกิดในครรภ์ของมเหสี 2 องค์ คือ พระนางจันทาและพระนางลุน  มเหสีองค์อื่นริษยาจึงวางแผนให้สินบนโหรหลวงเพื่อกลับคำทำนาย ทั้งทำเสน่ห์ยาแฝดให้ท้าวกุศราชลุ่มหลง
พระนางลุนคลอดโอรส 2 องค์ องค์แรกเป็นหอยสังข์ พระนามว่าสังข์  องค์ที่ 2 เป็นมนุษย์ถือดาบและศรศิลป์ออกมาด้วย พระนามว่าสินไซ (ศิลป์ชัย) ส่วนพระนางจันทาคลอดโอรสเป็นคชสีห์ หัวเป็นช้าง ตัวเป็นราชสีห์ พระนามว่าสีหราช หรือสีโหที่คนขอนแก่นนิยมเรียกขาน  ต่อมาโอรสทั้งสามมีวิชาอาคมแก่กล้าเรียกเนื้อเรียกปลาได้
ท้าวกุศราชทรงอับอายที่มเหสีมีประสูติการประหลาด จึงเนรเทศทั้งสองพระนางและโอรสออกจากเมือง  พระอินทร์ล่วงรู้ก็เนรมิตปราสาทกลางป่าให้เป็นที่พำนัก
กาลผ่านไปท้าวกุศราชยังคงตามหาพระขนิษฐาไม่พบ จึงโปรดให้โอรสอีก 6 องค์ไปร่ำเรียนวิชาเพื่อจะได้ช่วยตามหา แต่ทั้งหกกลับไม่ใส่ใจศึกษา เป็นเหตุให้ต้องวางอุบายเพื่อโกหกพระบิดา
บังเอิญโอรสทั้งหกได้พบกับสีหราช สังข์ และสินไซ และรู้ว่าเป็นพี่น้องร่วมบิดา ก็วางอุบายว่าท้าวกุศราชให้ออกมาตามกลับเมืองและโปรดให้ทั้งสามเรียกฝูงสัตว์น้อยใหญ่เข้าไปในเมืองด้วย แต่เมื่อโอรสทั้งหกพบพระบิดาก็หลอกว่าฝูงสัตว์นั้นเกิดจากอาคมของพวกตน  ท้าวกุศราชหลงเชื่อ จึงให้ทั้งหกออกช่วยตามหาพระขนิษฐา
โอรสทั้งหกออกมาบอกสินไซที่รออยู่นอกเมืองว่า พระบิดาเชื่อแล้วว่าพวกสินไซยังมีชีวิตอยู่และให้ออกตามหาพระนางสุมณฑา  ระหว่างทางพบอุปสรรคต่างๆ นานา เช่น พบงูซวงงูตัวใหญ่ยาวพ่นพิษเป็นไฟ สินไซก็ฟันขาดเป็นสองท่อน  พบแม่น้ำกว้าง 1 โยชน์ สินไซกับสังข์ก็เดินทางข้ามไป ให้สีหราชอยู่เฝ้าน้องทั้งหก  สังข์กับสินไซฝ่าอันตรายไปอีก ๘ ด่านจนถึงเมืองอโนราชและฆ่าท้าวกุมภัณฑ์ได้ พาพระนางสุมณฑาและธิดาคือนางสีดาจันกลับเมืองเป็งจาล
สังข์กับสีหราชกลับไปหาพระมารดา ส่วนสินไซพาพระนางสุมณฑากลับเมือง  ระหว่างทางโอรสทั้งหกผลักสินไซตกเหว แต่พระนางสุมณฑาไม่เชื่อว่าสินไซสิ้นพระชนม์ จึงนำของ 3 สิ่ง คือ ปิ่น ซ้องประดับผม และสไบ ซ่อนไว้ที่หน้าผา พร้อมอธิษฐานว่า ถ้าสินไซยังมีชีวิต ขอให้มีผู้นำสิ่งของเหล่านี้กลับมาคืนพระนาง
สินไซไม่สิ้นพระชนม์เพราะพระอินทร์ช่วยเหลือ  พระนางสุมณฑาเมื่อพบท้าวกุศราชก็เล่าเหตุการณ์ที่โอรสทั้งหกกำจัดสินไซให้ฟัง แต่ท้าวกุศราชไม่เชื่อ พระอินทร์จึงดลใจให้คนเดินเรือสำเภาเก็บของเสี่ยงทาย 3 สิ่งไปให้ท้าวกุศราช พระองค์จึงเชื่อพระขนิษฐาและสำเร็จโทษโอรสและมเหสีทั้งหกรวมถึงโหรและหมอเสน่ห์ แล้วเชิญพระนางจันทา พระนางลุน และสามโอรสกลับเมือง ทั้งโปรดให้สินไซครองเมืองเป็งจาลสืบไป
นอกจากเนื้อหาที่สนุกสนาน ตื่นเต้น มีครบทุกรสแล้ว สินไซ ยังให้แง่คิดหลายประการ เช่น การทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว การไม่เอาเปรียบ ไม่โกรธแค้น และที่โดดเด่นคือความกตัญญูรู้คุณบิดามารดาอันจะนำความเจริญรุ่งเรืองมาสู่ตน